messager
 
เทศบาลตำบลเวียงต้า call ข้อมูลการติดต่อ

เทศบาลตำบล
เวียงต้า
อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่
check_circle สำนักทะเบียนท้องถิ่น
หลักฐาน/เอกสารที่ต้องเตรียมมาติดต่องานทะเบียนราษฎร
หลักฐาน/เอกสารที่ผู้มาใช้บริการ ต้องเตรียมมาติดต่องานทะเบียนราษฎร มีรายการดังต่อไปนี้ 1. การแจ้งเกิด - บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการของบิดา,มารดา (พร้อมสำเนา) - ทะเบียนบ้านของบิดา,มารดา(พร้อมสำเนา) - ทะเบียนสมรส (ถ้ามี) - หนังสือยินยอมให้บุตรใช้ชื่อสกุล (กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส) - บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการาของผู้รับมอบหมาย - หนังสือมอบหมายจากบิดา,มารดา 2. การแจ้งตาย - บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการของผู้ตาย (พร้อมสำเนา) - บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการของผู้แจ้งตาย (พร้อมสำเนา) - หนังสือรับรองการตาย - กรณีตายบ้าน เจ้าบ้านหรือผู้พบเห็นการตายต้องเป็นผู้มาแจ้งการตาย - กรณีตายในเขต ต้องนำทะเบียนบ้านฉบับจริงมาด้วย 3. การย้ายออก กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง - บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หนักงานองค์การของรัฐ) - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน - ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน - บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวฯ - บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมาย - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน - นอกจากหลักฐานตามข้อ 1. แล้วจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ปรากฎข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน กรณีย้ายบุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะ - สูติบัตร - บิดา หรือมารดาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอย้ายเองพร้อมทั้งต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงด้วย - กรณีไม่ปรากฏตามที่กล่าว ต้องดำเนินการสอบปากคำผู้มาแจ้งย้ายด้วย - กรณีบุคคลต่างด้าวขอย้ายออกจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแสดง 4. การย้ายเข้า - ผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง - บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน - ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2 กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน - บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัว - บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ได้รับมอบหมาย - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน - ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2 - ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอน 1 และ 2 ตรงช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า ผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน - นอกจากหลักฐานตามข้อ 1 แล้ว จะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ให้ปรากฏข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน 5. การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางอัตโนมัติ กฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ย้ายที่อยู่ หากมอบหมายแจ้งย้ายปลายทางจะต้องมี หนังสือมอบหมาย ปรากฎข้อความชัดเจนว่า บุคคลใดได้มอบหมายให้มาแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทางแทน และมอบหมายให้ย้ายที่อยู่บุคคลใดบ้าง ย้ายเข้าบ้านเลขที่ใด หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง - บัตรประจำตัวของผู้ประสงค์จะย้ายปลายทาง - บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน - คำยินยอมของเจ้าบ้านเป็นหนังสือ - เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท 6. การคัดสำเนาทะเบียนบ้าน - บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการของผู้แจ้ง - หนังสือมอบหมายจากผู้มอบหมาย (กรณีที่ผู้มอบหมายไม่สามารถมาคัดสำเนาทะเบียนบ้านเองได้) - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาบัตรข้าราชการของผู้มอบหมายพร้อมเซ็นต์รับรอง - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาบัตรข้าราชการผู้รับมอบหมายพร้อมเซ็นต์รับรอง 7. การขอเลขหมายประจำบ้าน (ขอเลขบ้าน) - ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) ออกโดยผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันท้องที่บ้านที่ปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้องพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด - เอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินของบ้านที่ปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ เช่น โฉนดที่ดิน , น.ส.3 ,ส.ป.ก เป็นต้น กรณีสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น ต้องมีหนังสือ ยินยอมให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินนั้นของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นประกอบด้วย โดยใช้เอกสารดังนี้ - หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้าน (กรณีสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น) โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน/ผู้ที่มีชื่อร่วมกันในกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นๆทุกคน ลงลายมือชื่อพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด *หมายเหตุ* กรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียชีวิต แนบสำเนามรณบัตรและให้ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินนั้นๆทุกคน มีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินโดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน จำนวนคนละ 1 ชุด - กรณียื่นในนามบริษัท , ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฯลฯ ต้องมีหนังสือรับรองการจัดตั้ง หรือหนังสือรับรองโดยแนบสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามทุกคน ลงลายมือชื่อพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด - ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือ หนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง ออกโดย กองช่าง เทศบาลตำบลบ้านดู่ - หนังสือมอบอำนาจ / มอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน กรณีไม่สามารถมาติดต่อขอเลขที่บ้านด้วยตนเอง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ /มอบหมายและผู้รับมอบอำนาจ/มอบหมาย รวมทั้งพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อ หรือลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือข้างขวาในหนังสือมอบอำนาจ/มอบหมาย พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วนทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด - รูปถ่ายบ้านที่ปลูกสร้างเสร็จทั้ง 4 ด้าน (ด้านหน้า – ด้านหลัง - ด้านข้างซ้าย - ด้านข้างขวา) - แผนที่บ้านที่ปลูกสร้างเสร็จพอสังเขป และเลขที่บ้านข้างเคียงใกล้กับบ้านที่ขอเลขที่บ้านใหม่ 8. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน เช่น ชื่อตัว – ชื่อสกุล - เอกสารจากทางอำเภอ (แบบช1.,แบบ ช.3 ฯลฯ) - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง - ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 9. การคัดเอกสารหลักฐานต่าง ๆ 1. การคัดสูติบัตร (ใบเกิด) - สามารถคัดสำเนาใบสูติบัตรผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ทุกสำนักทะเบียน 2. การคัดใบมรณบัตร (ใบตาย) - สามารถคัดสำเนาใบมรณบัตรผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ทุกสำนักทะเบียน 3. การคัดทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (แบบเดิม) สามารถคัดได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป 4. การคัดเอกสารการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน สามารถคัดได้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 หมายเหตุ - การติดต่อฝ่ายทะเบียนทุกครั้ง อย่าลืม "สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน"